วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2559

Cimb รุกธุรกรรมบาท-ริงกิต

Cimb thai ซีไอเอ็มบี ไทย รุกธุรกรรมบาท-ริงกิต
cimbบริการครบวงจรด้านการค้าไทย-มาเลเซีย

            เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2559 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และธนาคารกลางมาเลเซีย (Bank Negara Malaysia BNM) ได้ประกาศเริ่มดำเนินการกลไก การชำระเงินสกุลท้องถิ่นอย่างเป็นทางการเพื่อส่งเสริมการใช้เงินสกุลริงกิตและบาท ในการชำระธุรกรรมการค้าระหว่างกันโดยได้แต่งตั้งธนาคารของทั้งสองประเทศให้เป็น Appointed Cross Currency Dealers (ACCD) เพื่อสนับสนุนกลไกการชำระเงินสกุลท้องถิ่นประเทศละ 3 ธนาคาร ประกอบด้วย ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)cimb  ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ในด้านไทย ส่วนธนาคารในมาเลเซีย ได้แก่ Bangkok Bank Berhad , CIMB Bank Berhad และ Malayan Banking Berhad (Maybank)
            นางจันทวรรณ สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า มาตรการที่ ธปท. ผ่อนคลายจะเป็นการผ่อนคลายเพื่อให้ธนาคารในมาเลเซีย ซึ่งเป็น Non Resident ตามนิยามของไทยสามรถทำธุรกรรมเงินบาทได้คล่องตัวขึ้น ส่วนธนาคารกลางมาเลเซีย ก็ได้ผ่อนคลายให้ธนาคารในประเทศไทย ซึ่งเป็น Non Resident ตามนิยามของมาเลเซีย สามารถทำธุรกรรมเงินริงกิตได้คล่องตัวขึ้นเช่นกัน
            โดย 3 ธนาคารที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ACCD จำทำหน้าที่คล้าย Settlement Bank สำหรับเงินหยวนในประเทศไทย โดยจะคล้ายกันในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงสภาพคล่องเงินริงกิต โดยธนาคารพาณิชย์ไทย 3 แห่งสามารถให้บริการซื้อขายริงกิตกับลูกค้าในไทยได้และหากธนาคารต้องการสภาพคล่องริงกิตให้บริการแก่ลูกค้าในไทย สามารถติดต่อกับธนาคารในมาเลเซีย 3 แห่งเพื่อขอกู้ หรือซื้อเงินริงกิตไปให้บริการแก่ลูกค้าได้ ขณะที่การแต่งตั้ง Settlement Bank เงินหยวน เป็นกลไกเสิรมหากธนาคารพาณิชย์ในประเทศซึ่งปกติสามารถให้บริการเงินหยวนในไทยได้อยู่แล้วสามารถมาใช้ ICBC เป็นช่องทางเพิ่มเติมได้ในกรณีที่ขาดสภาพคล่องเงินหยวน แต่กรณีสกุลริงกิต จะมีเฉพาะ ACCD ที่ได้รับการแต่งตั้งเท่านั้นที่จะสามารถเข้าถึงสภาพคล่องริงกิตได้ เนื่องจากเงินริงกิตไม่มีสภาพคล่องในตลาดต่างประเทศ
            สำหรับระเบียบควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินและมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท ที่ ธปท. ได้ผ่อนคลายให้ธนาคารพาณิชย์ในมาเลเซียสามารถทำธุรกรรมได้ยืดหยุ่นขึ้นเพื่อให้สามารถทำหน้าที่ Quote อัตราแลกเปลี่ยนริงกิต-บาทได้แก่
            1. ฝากเงินบาทในบัญชี Non-residentbaht Accountn (NRBA) โดยมียอดคงค้าง ณ สิ้นวันได้เพิ่มขึ้นกว่ากรณีทั่วไปและได้รับดอกเบี้ยเงินฝาก ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการที่ธนาคารในมาเลเซียจะสามารถบริหารสภาพคล่องเงินบาทได้ยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อเตรียมรองรับความต้องการสภาพคล่องเงินบาทให้กับลูกค้าธนาคาร
            2. ทำป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (Foreign Exchange Hedging กับธนาคารพาณิชย์ในประเทศที่ได้รับการแต่งตั้ง โดยใช้ประมาณการที่เกี่ยวกับค่าสินค้าและบริการ (Anticipatory Hedging) สกุลบาทของลูกค้าในมาเลเซียได้ จากปกติที่ไม่สามารถใช้ระบบประมาณการได้ต้องมีเอกสารทางการค้าที่แสดงการนำเข้าส่งออกที่เกิดขึ้นแล้วเป็นเอกสารรองรับ (Undertying) เท่านั้น
            3. กู้ยืมเงินบาทโดยตรงจากธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยที่ได้รับการแต่งตั้ง เพื่อการให้บริการสินเชื่อการค้า (Trade Financing) ในสกุลเงินบาทแก่ลูกค้าในมาเลเซีย เช่น ให้กู้ยืมเงินบาทเพื่อชำระค่าสินค้านำเข้าให้กับผู้ประกอบการในประเทศไทย
            สำหรับธนาคารธาณิชย์ไทยที่ได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ Quote อัตราแลกเปลี่ยนบาท-ริงกิต ก็ได้รับการผ่อนคลายให้ทำธุรกรรมในสกุลเงินริงกิตในทำนองเดียวกัน

           


ชูบริหารเงินแข็งบิรการริงกิต ตอบโจทย์ธุรกิจรอบด้าน
            ดร.สุภัค ศิวะรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด(มหาชน) ได้ให้สัมภาษณ์ การเงินการธนาคารถึงผลที่จะเกิดขึ้นจากการจัดตั้งกลไกการชำระเงินสกุลท้องถิ่นระหว่างไทยกับมาเลเซียว่า โดยรวมจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การค้าระหว่างไทยกับมาเลเซียขยายตัว เนื่องจากทำให้ทำการค้าสะดวกขึ้นและมีต้นทุนที่ลดลง ซึ่งธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ก็เริ่มออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เกี่ยวกับเงินริงกิตเพื่อให้บริการลูกค้าอย่างครบวงจร
            ดร.สุภัค ให้ข้อมูลว่าที่ผ่านมาแม้ว่า ซีไอเอ็มบี ไทย เป็นธนาคารเชื้อสายมาเลเซีย แต่ก็ไม่สามารถรับฝากเงินริงกิตจากลูกค้าในประเทศไทยได้ และไม่สามารถรับแลกเปลี่ยนริงกิตในไทยได้ แม้ลูกค้าจะมีความต้องการและสอบถามเข้ามาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจาก 10 กว่าปีที่แล้ว ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ธนาคารกลางมาเลเซียได้ใช้มาตรการควบคุมเงินทุนเคลื่อนย้าย (Capital Control) โดยไม่อนุญาตให้ธนาคารในต่างประเทศมีเงินริงกิต (Offshore Ringit)
            ปัจจุบัน ธนาคารกลางมาเลเซียผ่อนคลายกฎเกณฑ์มากขึ้นโดยเริ่มจากทำความร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นประเทศแรกในการจัดตั้งกลไกการชำระเงินสกุลท้องถิ่นระหว่างกัน และได้ประกาศแต่งตั้งธนาคารพาณิชย์ในมาเลเซียและไทย เพื่อสนับสนุน
            “การเริ่มผ่อนคลายกฎเกณฑ์ของแบงก์กลางมาเลเซีย ก็ถือเป็นนิมิตหมายที่ดี หนึ่งคือ แสดงถึงความมั่นใจเสถียรภาพการเงินในประเทศตัวเอง สอง การยอมผ่อนคลายให้เฉพาะกับประเทศไทย ก็แสดงว่ามาเลเซียให้ความสำคัญกับการค้าขายการโอนเงินระหว่างประเทศไทยกับมาเลเซีย คือการไว้ใจและให้ความสำคัญกับไทย”
            ดร.สุภัคเปิดเผยว่า หลักในการคัดเลือกธนาคารตัวแทนแต่ละฝ่าย คือจะคัดเลือเฉพาะธนาคารพาณิชย์ที่มีความสัมพันธ์เชิงธุรกิจที่แน่นแฟ้นกับสถาบันการเงินของทั้งสองประเทศอยู่แล้ว ซึ่งกลุ่ม ซีไอเอ็มบี ไทย ก็มีธนาคารอยู่ในทั้งสองประเทศ  ส่วนธนาคารไทยอีกสองแห่งก็มีการวางรากฐานธุรกิจในมาเลเซียมานานพอสมควร
            อีกสาเหตุหนึ่งที่ธนาคารcimb ซีไอเอ็มบี ไทย ได้รับเลือกก็คือ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจจะเห็นว่าธนาคารมีความโดดเด่นในด้านธุรกิจบริหารเงิน หรือ Treasury เป็นบริการที่นับเป็นจะแข็งของธนาคารโดยได้รับรางวัลด้านการบริหารเงินจากสถาบันต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง จุดเด่นด้านบริหารเงินเป็นสิ่งการันตีว่า ธนาคารสามารถที่จะนำเสนอบริการตอบโจทย์ภาคธุรกิจได้ครบทุกด้าน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น